คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๘๔๔/๒๕๕๕
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ (มาตรา ๔๒, ๔๓)
ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของผู้ครอบครองบ้าน ด้านทิศตะวันตกติดกับตึกแถวสามชั้นของผู้ถูกฟ้องคดีร่วม ประมาณกลางปี พ.ศ.๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมได้ทำการซ่อมแซมตึกแถวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าอาคารพิพาทสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ และเป็นการสร้างที่ผิดแบบแปลนที่เทศบาลอนุญาต ซึ่ง ป. นายกเทศมนตรีตำบลท่าใหม่ในขณะนั้นได้มีหนังสือแจ้ง น. เจ้าของอาคารพิพาทเดิมให้ทำการแก้ไข แต่เจ้าของอาคารเดิมไม่ได้ดำเนินการใด ๆ
อาคารพิพาทก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้นและยังไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้อง ความไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงยังคงดำรงอยู่ ผู้เป็นเจ้าของครอบครองอาคารมีหน้าที่ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ จึงมีอำนาจสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีมิใช่นำกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมาใช้บังคับกับผู้ถูกฟ้องคดีร่วม และเมื่อคดีพิพาทนี้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะต้องดำเนินการตามมาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒
คำชี้ขาดความเห็นแย้งฐาน ก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๔๓๐/๒๕๕๔)
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ (มาตรา ๓๙ ทวิ)
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพบว่าในการก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุได้มีการก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหลายรายการ และเป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงออกคำสั่งให้ผู้ต้องหาทั้งสามระงับการก่อสร้าง ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่เกิดเหตุ รวมทั้งให้ดำเนินการแก้ไข และยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง โดยส่งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทั้งสามทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และปิดประกาศสำเนาคำสั่งไว้ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ อาคารที่เกิดเหตุแล้ว แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ได้จัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามผู้ต้องหาทั้งสามใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารที่เกิดเหตุไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ บริเวณดังกล่าวแต่อย่างใด
ดังนี้ ถือได้ว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่ได้ดำเนินการออกคำสั่งให้ผู้ต้องหาทั้งสามปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๐ (๒) การที่ผู้ต้องทั้งสามยังคงใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือบริเวณอาคารที่เกิดเหตุ จึงไม่มีความผิดฐาน "ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือบริเวณอาคารที่เกิดเหตุซึ่งเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม"
พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสามฐาน "ร่วมกันก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชย์กรรมให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาต" นั้น เมื่อคดีได้ความจากการสอบสวนเพิ่มเติมว่าผู้ต้องหาที่ ๑ ได้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอทำการก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุตาม มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ มิใช่เป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างตาม มาตรา ๒๕ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๓ นำมาเป็นเหตุผลในการมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสาม
เมื่อความปรากฏในชั้นพิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้ง จึงเห็นควรใช้อำนาจอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๓๓ มาตรา ๑๕ มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสามฐาน "ร่วมกันก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น" ตามมาตรา ๓๙ ทวิ และ "ร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น" ตามมาตรา ๓๙ ทวิ โดยถือเป็นการปรับบทกฎหมายในการลงโทษผู้กระทำความผิดให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ (มาตรา ๔๒, ๔๓)
ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของผู้ครอบครองบ้าน ด้านทิศตะวันตกติดกับตึกแถวสามชั้นของผู้ถูกฟ้องคดีร่วม ประมาณกลางปี พ.ศ.๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมได้ทำการซ่อมแซมตึกแถวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าอาคารพิพาทสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ และเป็นการสร้างที่ผิดแบบแปลนที่เทศบาลอนุญาต ซึ่ง ป. นายกเทศมนตรีตำบลท่าใหม่ในขณะนั้นได้มีหนังสือแจ้ง น. เจ้าของอาคารพิพาทเดิมให้ทำการแก้ไข แต่เจ้าของอาคารเดิมไม่ได้ดำเนินการใด ๆ
อาคารพิพาทก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้นและยังไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้อง ความไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงยังคงดำรงอยู่ ผู้เป็นเจ้าของครอบครองอาคารมีหน้าที่ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ จึงมีอำนาจสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีมิใช่นำกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมาใช้บังคับกับผู้ถูกฟ้องคดีร่วม และเมื่อคดีพิพาทนี้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะต้องดำเนินการตามมาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒
คำชี้ขาดความเห็นแย้งฐาน ก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๔๓๐/๒๕๕๔)
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ (มาตรา ๓๙ ทวิ)
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพบว่าในการก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุได้มีการก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหลายรายการ และเป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงออกคำสั่งให้ผู้ต้องหาทั้งสามระงับการก่อสร้าง ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่เกิดเหตุ รวมทั้งให้ดำเนินการแก้ไข และยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง โดยส่งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทั้งสามทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และปิดประกาศสำเนาคำสั่งไว้ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ อาคารที่เกิดเหตุแล้ว แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ได้จัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามผู้ต้องหาทั้งสามใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารที่เกิดเหตุไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ บริเวณดังกล่าวแต่อย่างใด
ดังนี้ ถือได้ว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่ได้ดำเนินการออกคำสั่งให้ผู้ต้องหาทั้งสามปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๐ (๒) การที่ผู้ต้องทั้งสามยังคงใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือบริเวณอาคารที่เกิดเหตุ จึงไม่มีความผิดฐาน "ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือบริเวณอาคารที่เกิดเหตุซึ่งเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม"
พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสามฐาน "ร่วมกันก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชย์กรรมให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาต" นั้น เมื่อคดีได้ความจากการสอบสวนเพิ่มเติมว่าผู้ต้องหาที่ ๑ ได้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอทำการก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุตาม มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ มิใช่เป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างตาม มาตรา ๒๕ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๓ นำมาเป็นเหตุผลในการมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสาม
เมื่อความปรากฏในชั้นพิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้ง จึงเห็นควรใช้อำนาจอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๓๓ มาตรา ๑๕ มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสามฐาน "ร่วมกันก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น" ตามมาตรา ๓๙ ทวิ และ "ร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากความประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น" ตามมาตรา ๓๙ ทวิ โดยถือเป็นการปรับบทกฎหมายในการลงโทษผู้กระทำความผิดให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น