เนื้อหาที่สำคัญและบทกำหนดโทษ (โดยย่อ)
มาตรา ๔
ผู้ทวงถามหนี้
หมายความว่า เจ้าหนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
และให้หมายความรวมถึง ผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้ทวงถามหนี้ด้วย
สินเชื่อ หมายความรวมถึง
สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน
การให้บริการบัตรเครดิตการให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง
และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
ลูกหนี้ หมายความรวมถึง
ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
มาตรา ๕
บุคคลใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๘
ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้
เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ บุคคลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้ (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
หากจะติดต่อกับบุคคลอื่นก็ทำได้เพียงสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น
และผู้ทวงถามหนี้ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาให้ทราบ (ให้คณะกรรมการ
มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด)
- ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ ผู้นั้นเป็นสามี
ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และผู้นั้นสอบถาม
ก็ให้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสม (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์
หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในหนังสือ หรือในสื่ออื่นใด
ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิด
เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้
เพื่อการทวงถามหนี้ (ให้คณะกรรมการ
มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด)
มาตรา ๙
การทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้
หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้ หากไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าหรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้
ไม่สามารถติดต่อได้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่
หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
- การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อเวลา ๐๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. และในวันหยุดราชการ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.
หากไม่สามารถติดต่อตามเวลาดังกล่าวได้หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม
ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และให้ติดต่อตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม
และคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดจำนวนครั้งด้วยก็ได้
- ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล
หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ และจำนวนหนี้
และถ้าผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า
ให้แสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ด้วย
(ให้คณะกรรมการ
มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด)
ถ้ามีการชำระหนี้
ให้ผู้ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ด้วย (ให้คณะกรรมการ
มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด)
หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต
ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยชอบ ทั้งนี้
ไม่ว่าผู้ทวงถามหนี้จะได้รับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม
มาตรา ๑๑
ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้
- ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง
หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง
หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- ใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- แจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้
ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่ ผู้นั้นเป็นสามี ภริยา
บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และผู้นั้นสอบถาม
ก็ให้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสม (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- ติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร
เอกสารเปิดผนึก โทรสาร
หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่
กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น
หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- ใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์
หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้
เว้นแต่
ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
หรือการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(ให้คณะกรรมการ
มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด)
มาตรา ๑๒
ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ
หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดดังต่อไปนี้
- แสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์
หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือหน่วยงานของรัฐ (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- แสดงหรือมีข้อความ
ที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความ สำนักงานทนายความ
หรือสำนักงานกฎหมาย (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- แสดงหรือมีข้อความ ที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี
หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- ติดต่อหรือแสดงตน
ให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต
หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๑๓
ห้ามผู้ทวงถามหนี้ กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม
ดังต่อไปนี้
- เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ
เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (ให้คณะกรรมการ
มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด)
- การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค
ทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๑๔
ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการดังต่อไปนี้
- ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
- ทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ ซึ่งมิใช่ของตน
เว้นแต่ ในกรณีที่เป็นหนี้ของสามีภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน
หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ
พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง ทบวง กรม
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- กฎกระทรวงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น