“ความผิดมูลฐาน” ในมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
หมายความว่า
(๑) ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (คลิกดูที่นี่)
(๒) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามประมวลกฎหมายอาญา เฉพาะที่เกี่ยวกับการเป็นธุระจัดหาล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารหญิงและเด็ก เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นและความผิดฐานพรากเด็กและผู้เยาว์ ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เฉพาะที่เกี่ยวกับการเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำ การค้าประเวณี หรือความผิดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการกิจการค้าประเวณี หรือสถานการค้าประเวณี หรือเป็นผู้ควบคุมผู้กระทำ การค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณี
(๓) ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
(๔) ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกงหรือประทุษร้ายต่อทรัพย์หรือกระทำ โดยทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งกระทำโดยกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน นั้น
(๕) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
(๖) ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ที่กระทำ โดยอ้างอำนาจอั้งยี่ หรือซ่องโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา
(๗) ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(๘) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา
(๙) ความผิดเกี่ยวกับการพนัน ตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน เฉพาะความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีจำนวนผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นแต่ละครั้งเกินกว่าหนึ่งร้อยคน หรือมีวงเงินในการกระทำความผิดรวมกันมีมูลค่าเกินกว่าสิบล้านบาทขึ้นไป
(๑๐) ความผิดเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมที่มีกฎหมายกำหนดเป็นความผิด
(๑๑) ความผิดเกี่ยวกับการรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา เฉพาะที่เกี่ยวกับการช่วยจำหน่ายซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการค้า
(๑๒) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือการแปลงเงินตรา ดวงตรา แสตมป์ และตั๋ว ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นการค้า
(๑๓) ความผิดเกี่ยวกับการค้า ตามประมวลกฎหมายอาญาเฉพาะที่เกี่ยวกับการปลอม หรือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้า หรือความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอันมีลักษณะเป็นการค้า
(๑๔) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมเอกสารสิทธิ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือหนังสือเดินทาง ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระหรือเพื่อการค้า
✩ ความรู้เรื่องการดำเนินการสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับพนักงานสอบสวน ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ตำแหน่งพนักงานสอบสวน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ความหมาย(โดยย่อ)(มาตรา ๒ (๖)) "พนักงานสอบสวน" หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
(มาตรา ๒ (๑๑)) "การสอบสวน" หมายถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
อำนาจในการสอบสวนคดีอาญา
(มาตรา ๑๗) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสอบสวนคดีอาญาได้
กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร โดยพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง พ.ศ.๒๕๕๔ และกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๕
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการทำสำนวนสอบสวนร่วมกันระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓
(มาตรา ๑๘) ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
ความผิดอาญาเกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน กรณีในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น หรือผู้รักษาการแทน (ในที่นี้หมายถึง หัวหน้าสถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน)
(มาตรา ๑๙) ในกรณีความผิดเกิดหลายท้องที่เกี่ยวข้องกันหรือต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งหมายถึง ผู้ที่สรุปสำนวนและทำความเห็นทางคดีนั้น ถ้าเป็นกรณีที่จับผู้ต้องหาได้แล้วให้พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ให้พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
(มาตรา ๒๐) อัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทน เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคดีการกระทำความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทย ที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย และให้ดุลพินิจในการมอบหมายหน้าที่การเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนั้นให้พนักงานอัยการคนใดหรือพนักงานสอบสวนคนใด เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้ (หนังสือ คด. ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/๑๓๓๑ ลง ๒๙ ธ.ค.๒๕๔๙ เรื่อง หารือปัญหาการสอบสวนความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักร ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๐)การชี้ขาดอำนาจสอบสวน
ในจังหวัดเดียวกัน ให้ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบชี้ขาด (ป.วิ.อ. มาตรา ๒๑/๑ แก้ไขโดยประกาศ คสช. ฉบับที่ ๑๑๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ ก.ค.๒๕๕๗) แต่ถ้าในระหว่างหลายจังหวัดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด การรอคำสั่งชี้ขาดนั้นไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556
ส่งสำนวนก่อนครบฝากสุดท้าย
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ กรมตำรวจ กองคดี โทร.๒๕๒-๗๙๓๑
ที่ ๐๖๐๓.๒/๒๗๙๘ วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๒
เรื่อง การประสานงานและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผบช.และผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
ผบก.หน่วยขึ้นตรงต่อ ตร.(ที่มีหน้าที่สอบสวนคดีอาญา)
ตามคำสั่ง ตร.
ที่ ๒๔๔/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๒ ได้กำหนดมาตรการในการควบคุมตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา
ให้ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วไม่เกิดการล่าช้าโดยเฉพาะในข้อ ๑.๔ ของคำสั่ง ตร. ดังกล่าว ในคดีที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัว
หรือถูกฝากขังในระหว่างการสอบสวน ได้กำหนดแนวทางให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบและผู้บังคับบัญชา
เร่งรัดการสอบสวนให้เสร็จสิ้นไปก่อนที่จะครบอำนาจผัดฟ้อง หรือฝากขัง
ตามที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ให้อำนาจไว้
การขอผัดฟ้องหรือฝากขังให้กระทำในกรณีมีความจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นเท่านั้น
เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้รีบสรุปสำนวนมีความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งคดี
หรือพนักงานอัยการพิจารณาต่อไปทันทีไปแล้ว นั้น
บัดนี้
จากการประชุมคณะผู้ประสานงานระหว่างกรมตำรวจกับกรมอัยการ ได้พิจารณาปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องในการปฏิบัติในหน้าที่ของพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการ
โดยคณะผู้ประสานงานกรมอัยการได้หยิบยกปัญหาเกี่ยวกับพนักงานสอบสวน
ส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานอัยการพิจารณาในระยะกระชั้นชิดที่ผู้ต้องหาจะครบอำนาจควบคุมฝากขังครั้งสุดท้าย
ทำให้การตรวจสำนวนของพนักงานอัยการต้องกระทำด้วยความเร่งรีบมีเวลาจำกัด
อาจมีข้อผิดพลาดอันจะเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนคู่กรณีได้
จึงขอให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พิจารณาก่อนผู้ต้องหาจะครบกำหนดอำนาจควบคุมฝากขังครั้งสุดท้าย ๑ ครั้ง
ตร.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าพนักงานอัยการมีความจำเป็นจะต้องตรวจสำนวนการสอบสวน
ว่าคดีมีมูลความผิดตามที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหา
ผู้ต้องหาควรจะถูกฟ้องร้องให้ศาลลงโทษหรือไม่ ระยะเวลาจึงมีความจำเป็น
เพราะพนักงานอัยการจะได้มีเวลาในการตรวจพิจารณาเกี่ยวกับพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงให้พนักงานสอบสวนถือเป็นทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากคำสั่ง ตร.ที่ ๒๔๔/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๒ อีกดังนี้
๑. ในคดีที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวหรือถูกฝากขังในระหว่างการสอบสวน
ให้พนักงานสอบสวนรีบสอบสวนให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
โดยให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานอัยการพิจารณาก่อนที่ผู้ต้องหาจะครบอำนาจควบคุมฝากขังครั้งสุดท้าย ๑ ครั้ง
๒. ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริงไม่อาจทำการสอบสวนให้เสร็จสิ้นไปทันตามกำหนดไว้ในข้อ ๑ เช่น มีความจำเป็นต้องไปติดตามพยานผู้เกี่ยวข้องในคดีมาสอบสวนให้ครบถ้วน
เป็นต้น ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานสอบสวน
รีบไปประสานกับพนักงานอัยการได้ทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่อาจส่งสำนวนการสอบสวนได้ทันกำหนด
แต่อย่างไรก็ดีพนักงานสอบสวนจะต้องทำการสอบสวนให้เสร็จสิ้น
และเสนอสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานอัยการก่อนครบอำนาจฝากขัง ๓ วัน
๓. ในคดีที่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากสลับซับซ้อน
ให้ถือเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจะต้องไปประสานกับพนักงานอัยการได้ทราบข้อเท็จจริงและประเด็นปัญหาแห่งคดี
อาจจะสรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานโดยย่อให้พนักงานอัยการได้ทราบถึงมูลเหตุที่มาของการสอบสวน
และพยานหลักฐานที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์การกระทำผิดของผู้ต้องหา
อันจะเป็นผลให้การพิจารณาของพนักงานอัยการเกี่ยวกับคดีดังกล่าวเกิดความสะดวกและรวดเร็ว
เพราะมีพนักงานสอบสวนไปประสานให้ข้อมูลข้อเท็จจริง หากมีประเด็นข้อสงสัยก็สามารถสอบถามพนักงานสอบสวนได้ทันที
จึงแจ้งมาให้ท่านสั่งพนักงานสอบสวนถือเป็นทางปฏิบัติในการประสานและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณาโดยเคร่งครัดด้วย
หากความปรากฏว่าพนักงานสอบสวนคนใดละเลยไม่ปฏิบัติหรือ ตร.
ได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการว่าพนักงานสอบสวนคนใดไม่ให้ความร่วมมือ ตร.
จะพิจารณาทัณฑ์ทางวินัยตามควรแก่กรณีต่อไป
(ลงชื่อ) พล.ต.อ.เภา สารสิน
( เภา สารสิน )
อ.ตร.
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๖๔ บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้
แต่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์
ผู้กระทําความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทํานั้นเป็นความผิด
ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทําไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น
ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๑๑/๒๕๔๕
|
ป.อ. มาตรา ๖๔
ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๙
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕, ๑๕๘, ๒๒๑
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๔๖๕ มาตรา ๑๕ , ๖๖
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ.๒๕๓๙) เรื่อง
ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯและตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ.๒๕๓๙) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น
โจทก์ไม่จำต้องแนบประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมาพร้อมกับคำฟ้อง
เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาได้
คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ.๒๕๓๙) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๙ และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกระทรวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับเช่นกฎหมาย
และเมื่อศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง
จำเลยให้การว่าทราบคำฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้วขอให้การรับสารภาพ
จึงถือว่าจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้วจำเลยไม่อาจแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้
จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามฟ้อง
ทั้งยังแถลงรับว่า ร้อยตำรวจโท ว.
เป็นผู้ตรวจพิสูจน์เมทแอมเฟตามีนของกลางและของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ จริง ดังนั้น ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาว่าของกลางมิใช่เมทแอมเฟตามีนจึงขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้โต้แย้งมาก่อน
จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์
จำเลยจะโต้เถียงเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ของกลางหรือโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องอีกหาได้ไม่
เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ จะรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ
และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๕ และแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556
ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนแก่จำเลย
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จำเลยในคดีอาญา
พ.ศ.๒๕๔๔
สรุปใจความสำคัญว่า
กรณีผู้เสียหาย
ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหาย ซึ่งทำให้ผู้เสียหายอาจขอรับค่าตอบแทนได้
ดังนี้ (มาตรา ๔)
-
ผู้เสียหาย
ต้องเป็นบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น
-
ผู้เสียหาย มีสิทธิได้รับเงิน "ค่าตอบแทน" ซึ่งหมายถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
ที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับ เพื่อตอบแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก หรือเนื่องจาก มีการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น
-
แต่ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหายอันอาจขอรับค่าตอบแทนได้ต้องเป็นความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้
(มาตรา ๑๗) ได้แก่
มาตรา ๒๗๖
ผู้ใดข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย
...
มาตรา ๒๗๗ ผู้ใดกระทําชําเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน
...
มาตรา ๒๗๘ ผู้ใดกระทําอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยการขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ
...
มาตรา ๒๗๙
ผู้ใดกระทําอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
...
มาตรา ๒๘๐ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๒๗๘
หรือมาตรา ๒๗๙ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ ...
มาตรา ๒๘๑ การกระทําความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคแรก
และมาตรา ๒๗๘ ถ้ามิได้เกิดต่อหน้า ...
มาตรา ๒๘๒ ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น
เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจาร ...
มาตรา ๒๘๓ ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น
เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจาร ...
มาตรา ๒๘๓ ทวิ
ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจาร
...
มาตรา ๒๘๔ ผู้ใดพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร
โดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ...
มาตรา ๒๘๕ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๒๗๖ มาตรา
๒๗๗ มาตรา ๒๗๗ ทวิ ...
มาตรา ๒๘๖
ผู้ใดอายุกว่าสิบหกปีดํารงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี
...
มาตรา ๒๘๗ ผู้ใด (๑) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่าย ...
มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น
ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปี ...
มาตรา ๒๘๙ ผู้ใด (๑) ฆ่าบุพการี (๒) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่
...
มาตรา ๒๙๐ ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า
แต่ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ...
มาตรา ๒๙๑ ผู้ใดกระทําโดยประมาท
และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ...
มาตรา ๒๙๒ ผู้ใดกระทําด้วยการปฏิบัติอันทารุณ
หรือด้วยปัจจัยคล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ...
มาตรา ๒๙๓
ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี
หรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำ ...
มาตรา ๒๙๔
ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่ง ...
มาตรา ๒๙๕ ผู้ใดทําร้ายผู้อื่น
จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ...
มาตรา ๒๙๖ ผู้ใดกระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย
ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใด ...
มาตรา ๒๙๗ ผู้ใดกระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย
จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําร้ายรับอันตราย ...
มาตรา ๒๙๘ ผู้ใดกระทําความผิดตามมาตรา ๒๙๗ ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด
...
มาตรา ๒๙๙
ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใด
...
มาตรา ๓๐๐ ผู้ใดกระทําโดยประมาท
และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ...
มาตรา ๓๐๑ หญิงใดทําให้ตนเองแท้งลูก
หรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่น ...
มาตรา ๓๐๒
ผู้ใดทําให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี
....
มาตรา ๓๐๓
ผู้ใดทําให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี
...
มาตรา ๓๐๔ ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทําความผิดตามมาตรา
๓๐๑ หรือมาตรา ๓๐๒ วรรคแรก ...
มาตรา ๓๐๕ ถ้าการกระทําความผิดดังกล่าวในมาตรา ๓๐๑ และมาตรา ๓๐๒ นั้น เป็นการกระทำ ...
มาตรา ๓๐๖ ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกินเก้าปีไว้ ณ
ที่ใดเพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน ...
มาตรา ๓๐๗
ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ เพราะอายุ
...
มาตรา ๓๐๘ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๓๐๖
หรือมาตรา ๓๐๗ เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้ง ...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)