วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน

รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

-  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒  (๑๐ เม.ย.๒๕๔๒)

-  พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒  พ.ศ.๒๕๔๖   (๙ ส.ค.๒๕๔๖)



สาระสำคัญ ในการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๗ 

                ข้อ ๔  ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษหรือจับกุมดําเนินคดีในความผิดมูลฐาน ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานซึ่งมีอํานาจหน้าที่ทําการสอบสวนในความผิดดังกล่าวดําเนินการสืบสวนสอบสวนว่ามีหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินด้วยหรือไม่ หากปรากฏว่ามีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินฐานหนึ่งฐานใดดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสืบสวนสอบสวนในความผิดฐานนั้นแล้วให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานนั้นรีบรายงานสํานักงานตามแบบที่เลขาธิการประกาศกําหนด
                ในกรณีที่พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใดหรือหน่วยงานใด ได้ทําการสืบสวนสอบสวนในความผิดฐานฟอกเงินฐานหนึ่งฐานใดอยู่แล้ว ก็ให้ถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม 
                นอกจากการรายงานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว เมื่อมีเหตุผลและความจําเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สํานักงานอาจขอให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานซึ่งมีอํานาจหน้าที่ทําการสอบสวนแจ้งหรือรายงานข้อเท็จจริงเพิ่มเติมภายในกําหนดเวลาอีกก็ได้
               ลักษณะคดีที่ต้องรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการตามข้อ ๑๖ แห่งระเบียบนี้ 

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความผิดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (โดยย่อ)

กฎหมายโดยย่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พ.ศ.๒๕๕๑
            “มาตรา ๓  ในพระราชบัญญัตินี้
                  "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" หมายความว่า สุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าการนั้น
                  “ขาย” หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า
                  “คณะกรรมการควบคุม” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
            “มาตรา ๒๙  ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลดังต่อไปนี้
                  (๑) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
                  (๒) บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้”
            “มาตรา ๔๐  ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
            “มาตรา ๓๐  ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะ ดังต่อไปนี้
                 (๑) ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
                 (๒) การเร่ขาย
                 (๓) การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
                 (๔) ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชคการชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อหรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
                 (๕) โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่น หรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
                 (๖) โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ”
            “มาตรา ๔๑  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
            “มาตรา ๔๕  บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการควบคุมมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และในการนี้ให้คณะกรรมการควบคุมมีอำนาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปรียบเทียบได้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ หรือเงื่อนไขประการใด ๆ  ให้แก่ผู้ได้รับมอบหมายตามที่เห็นสมควรก็ได้
               ในการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องมายังคณะกรรมการควบคุมหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการควบคุมมอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
               เมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่า คดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”

               คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง การมอบหมายให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) 
               ข้อ ๑ ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน มีอำนาจดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ เฉพาะบรรดาความผิดที่มีอัตราโทษอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวง 
               ข้อ ๒ ให้ผู้รับมอบหมายตามข้อ ๑ ดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑