พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า
(๑) นายกเทศมนตรีสําหรับในเขตเทศบาล
(๒) ประธานกรรมการสุขาภิบาลสําหรับในเขตสุขาภิบาล
(๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดสําหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสําหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
(๕) ปลัดเมืองพัทยาสำหรับในเขตเมืองพัทยา
(๖) หัวหน้าผู้บริหารส่วนท้องถิ่นขององค์การปกครองท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นสำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรําคาญ
(๑) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งอยู่ในทําเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใด เป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนําโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) การเลี้ยงสัตว์ ในที่ หรือโดยวิธีใด หรือมีจํานวนเกินสมควร จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๓) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกําจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็น หรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียง จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๔) การกระทําใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๕) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใด มิให้ก่อเหตุรําคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชน รวมทั้งการระงับเหตุรําคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บํารุงรักษาบรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ํา คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรําคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กําจัดและควบคุมเหตุรําคาญต่าง ๆ ได้
มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญ ภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญนั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้
ในกรณีที่ปรากฎแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรําคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรําคาญนั้นและอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญนั้นขึ้นอีกโดยบุคคล ซึ่งเป็นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการนั้น
มาตรา ๒๘ ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรําคาญ ภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญนั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรําคาญนั้นและอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญนั้นขึ้นอีก และถ้าเหตุรําคาญเกิดขึ้นจากการกระทํา การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการนั้น
ในกรณีที่ปรากฎเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรําคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดํารงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคําสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรําคาญนั้นแล้วก็ได้
มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขและผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๔ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเพื่อประโยชน์ในการจับกุมหรือปราบปรามผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักท้องถิ่น และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๗๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๕ ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมตํารวจ
(๒) ในเขตจังหวัดอื่น ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัด และผู้กํากับการตํารวจภูธรจังหวัด
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีอํานาจเปรียบเทียบ
สําหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ด้วย
เมื่อได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ดําเนินคดีต่อไป