วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน

รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

-  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒  (๑๐ เม.ย.๒๕๔๒)

-  พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒  พ.ศ.๒๕๔๖   (๙ ส.ค.๒๕๔๖)



สาระสำคัญ ในการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๗ 

                ข้อ ๔  ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษหรือจับกุมดําเนินคดีในความผิดมูลฐาน ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานซึ่งมีอํานาจหน้าที่ทําการสอบสวนในความผิดดังกล่าวดําเนินการสืบสวนสอบสวนว่ามีหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินด้วยหรือไม่ หากปรากฏว่ามีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินฐานหนึ่งฐานใดดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสืบสวนสอบสวนในความผิดฐานนั้นแล้วให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานนั้นรีบรายงานสํานักงานตามแบบที่เลขาธิการประกาศกําหนด
                ในกรณีที่พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใดหรือหน่วยงานใด ได้ทําการสืบสวนสอบสวนในความผิดฐานฟอกเงินฐานหนึ่งฐานใดอยู่แล้ว ก็ให้ถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม 
                นอกจากการรายงานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว เมื่อมีเหตุผลและความจําเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สํานักงานอาจขอให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานซึ่งมีอํานาจหน้าที่ทําการสอบสวนแจ้งหรือรายงานข้อเท็จจริงเพิ่มเติมภายในกําหนดเวลาอีกก็ได้
               ลักษณะคดีที่ต้องรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการตามข้อ ๑๖ แห่งระเบียบนี้ 

               ข้อ ๑๓  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ หรือผู้ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดในทางอาญาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ถ้าการกล่าวหานั้นเป็นคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานสอบสวนรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษนั้นไว้ดําเนินการสอบสวนตามระเบียบต่อไป
               ภายใต้บังคับตามวรรคหนึ่ง เมื่อพนักงานสอบสวนรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษ หรือต้อง
ควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาเพื่อดําเนินคดีเลขาธิการหรือข้าราชการของสํานักงานซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นหนังสือ อาจขอประกันตัวผู้ต้องหาดังกล่าวโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์เป็นประกันก็ได้
               การประกันผู้ต้องหาหรือจําเลยในชั้นพนักงานอัยการหรือชั้นศาล ให้ดําเนินการตามวรรคสองโดยอนุโลม

(หมายเหตุ :- ข้อ ๔ แก้ไขใหม่ว่า "ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานนั้นรีบรายงานสํานักงานตามแบบที่เลขาธิการประกาศกําหนด" ซึ่งแต่เดิม "ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงานนั้นรีบรายงานสำนักงานตามแบบท้ายระเบียบนี้" ส่วนข้อ ๑๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขใหม่ว่า "ถ้าการกล่าวหานั้นเป็นคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานสอบสวนรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษนั้นไว้ดําเนินการสอบสวนตามระเบียบต่อไป  ซึ่งแต่เดิม "ให้พนักงานสอบสวนทําการสืบสวนเสียก่อน ถ้าการสืบสวนตามคํากล่าวหานั้นแน่ชัดว่าไม่เป็นความผิดอาญาหรือไม่มีการกระทําความผิดอาญาเกิดขึ้นหรือเป็นเรื่องทางแพ่ง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งความลงรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดีไว้เป็นหลักฐาน ถ้าการสืบสวนปรากฏข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นความผิดอาญาหรือมีการกระทําความผิดอาญาเกิดขึ้น ให้พนักงานสอบสวนรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษนั้นไว้ดําเนินการสอบสวนตามระเบียบต่อไป"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น